Sinopse
Episódios
-
RUOK15 ชอบออกคำสั่ง บังคับคนอื่นจนเป็นนิสัยถือว่าป่วยไหม และทำอย่างไรถ้าต้องอยู่กับคนแบบนี้
18/06/2018 Duração: 27minหันไปทางไหนเราก็มีโอกาสเจอคนออกคำสั่ง เราเจอพ่อแม่สั่งให้ทำโน่นทำนี่ บางครั้งก็โดนบังคับทั้งที่เราเองไม่อยากทำ พอเข้าโรงเรียนก็เจอรุ่นพี่ เจอครู ที่บังคับขู่เข็ญ จนถึงโตเป็นผู้ใหญ่เรายังมีสิทธิเจอเจ้านายจอมบงการที่ไม่ฟังลูกน้อง R U OK เอพิโสดนี้ ปอนด์ ยาคอปเซ่น ชวน ดุจดาว วัฒนปกรณ์ นักจิตบำบัดด้วยการเคลื่อนไหว มาหาคำตอบว่าภายใต้คำสั่ง ในด้านจิตวิทยาเกิดขึ้นจากอะไร เราสามารถเปลี่ยนแปลงอะไรเขาได้ไหม และถ้าเราต้องอยู่ร่วมกับคนที่ชอบออกคำสั่งเป็นประจำจะทำอย่างไรให้สงบสุขTime index01:51 ภาวะความเป็นผู้นำและการชอบออกคำสั่งคนอื่น05:52 เราเองก็ชอบออกคำสั่งกับบางคน และบางเวลา10:27 ชอบออกคำสั่งเป็นบุคลิกภาพหรือเป็นโรค14:06 เลิกใช้คำว่า ‘ทำไม’ แต่ลองเปลี่ยนเป็น ‘อะไร’ 19:34 เพราะอะไรคนถึงชอบออกคำสั่งคนอื่น23:35 ถ้าเราอยู่ร่วมกับคนชอบออกคำสั่งจะทำอย่างไร26:06 วิธีแก้นิสัยชอบออกคำสั่งอ่าน shownotes ได้ที่ https://thestandard.co/podcast/ruok15/
-
RUOK14 ทำไมถึงชอบคิดลบ มองโลกในแง่ร้าย แล้วดาร์กแค่ไหนถึงต้องไปหาหมอ
11/06/2018 Duração: 29minถ้าลองสังเกตเพื่อนรอบตัวเวลาแสดงความคิดเห็นต่อข่าวหรือสถานการณ์ต่างๆ จะมีบางคนที่แสดงอาการไม่ไว้ใจ ไม่เชื่อว่าใครจะทำดี และคิดว่าโลกนี้ไม่มีความสวยงามจนบางครั้งชอบเรียกตัวเองว่าเป็นพวก ‘สายดาร์ก’ อยู่เป็นประจำ R U OK เอพิโสดนี้ ปอนด์ ยาคอปเซ่น และ ดุจดาว วัฒนปกรณ์ นักจิตบำบัดด้วยการเคลื่อนไหว จะมาทำความเข้าใจคนสายดาร์กว่าทำไมถึงรู้สึกว่าโลกที่เขาอยู่ทุกวันนี้เต็มไปด้วยสิ่งร้ายๆ บางครั้งไม่เชื่อในความดีและความสามารถของใครแม้แต่กระทั่งตัวเอง เขาป่วยไหม และทำอย่างไรถ้าคนรอบตัวมองโลกในแง่ร้ายแบบนี้ Time index02:35 เราเจอคนมองโลกในแง่ร้ายได้ตลอดเวลาทั้งเพื่อนและตัวเราเอง04:57 ทำไมเราถึงมองโลกในแง่ร้าย12:36 สาเหตุที่ทำให้เรามองโลกในแง่ร้าย16:32 มองโลกในแง่ร้ายไว้บ้างก็ดีเหมือนกัน19:15 มองโลกในแง่ดีอย่างเดียวก็ไม่ใช่เรื่องดี20:46 คิดลบขนาดไหนถึงต้องไปพบแพทย์23:34 คนที่มองโลกในแง่ร้ายก็สามารถฝึกมองโลกในแง่ดีได้อ่าน shownotes ได้ที่ https://thestandard.co/podcast/ruok14/
-
RUOK13 5 ขั้นตอนทางจิตวิทยาของการอกหัก และถ้าเศร้าหนักเกินเยียวยาไปหาจิตแพทย์ได้ไหม
05/06/2018 Duração: 32minสำหรับคนที่อกหักอาจกำลังรู้สึกว่า เวลาของความเจ็บปวดนี้มันช่างผ่านไปอย่างเชื่องช้า และยาวนานเกินกว่าจะรับไหวR U OK เอพิโสดนี้ ปอนด์ ยาคอปเซ่น และ ดุจดาว วัฒนปกรณ์ นักจิตบำบัดด้วยการเคลื่อนไหว เลยชวนกันมาทำความเข้าใจอาการอกหักด้วยมุมมองทางจิตวิทยา ว่ากว่าจะผ่านเศร้าที่ยาวนาน เราจะต้องผ่านขั้นตอนทางความรู้สึกอะไร ทำอย่างไรถึงจะดีขึ้น และถ้ารู้สึกเสียใจเกินกว่าจะรับมือ การเดินเข้าไปหาผู้เชี่ยวชาญก็ไม่ใช่เรื่องที่เกินไปTime index02:57 ความรู้สึกที่เราต้องเผชิญเมื่ออกหัก03:10 ขั้นที่ 1 ปฏิเสธ07:03 ขั้นที่ 2 โกรธ09:37 ขั้นที่ 3 ต่อรอง13:49 ขั้นที่ 4 เศร้าเสียใจ21:56 ขั้นที่ 5 ยอมรับความจริงได้จริงๆ24:50 ถ้าเสียใจจนไม่ไหว อยากไปพบจิตแพทย์จะเกินไปหรือเปล่า27:28 ทำไมความเสียใจถึงอยู่กับเรายาวนานอ่าน shownotes ได้ที่ https://thestandard.co/podcast/ruok13/
-
RUOK12 จากแกล้งป่วยถึงขู่จะฆ่าตัวตาย อะไรทำให้คนเรียกร้องความสนใจ แล้วแค่ไหนถึงต้องไปหาหมอ
28/05/2018 Duração: 36minปิดโทรศัพท์มือถือไม่ให้ใครตามตัว เปลี่ยนโปรไฟล์เฟซบุ๊กเป็นสีดำ แกล้งปวดท้องไม่อยากไปโรงเรียน น้อยใจขู่ว่าจะฆ่าตัวตาย หลากหลายวิธีเรียกร้องความสนใจที่เราเคยพบ ทั้งเรื่องเล็กไปถึงเรื่องใหญ่ บางทีก็พบว่าไม่สมเหตุสมผลและหลายครั้งพบว่าไม่จริง R U OK เอพิโสดนี้ ปอนด์ ยาคอปเซ่น และ ดุจดาว วัฒนปกรณ์ นักจิตบำบัดด้วยการเคลื่อนไหว จะชวนมาสำรวจพฤติกรรมการเรียกร้องความสนใจ ที่เป็นได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ เขาเหล่านั้นทำไปทำไม นำพาไปสู่โรคทางจิตอะไรไหม และทำอย่างไรถ้าจะต้องเจอคนมีนิสัยเรียกร้องความสนใจอยู่เป็นประจำ Time index02:23 ตัวอย่างพฤติกรรมการเรียกร้องความสนใจ10:07 ทำไมคนเราถึงเรียกร้องความสนใจ13:51 เรียกร้องความสนใจจนติดเป็นนิสัย19:26 เรียกร้องความสนใจระวังเป็นโรคทางจิตเวช20:53 อาการของโรคบุคลิกภาพแปรปรวนแบบฮิสทีเรีย25:03 จะรับมืออย่างไรกับคนที่เรียกร้องความสนใจเป็นประจำ32:09 ถ้าอยากปรับพฤติกรรมเรียกร้องความสนใจของตัวเองควรทำอย่างไรอ่าน shownotes ได้ที่ https://thestandard.co/podcast/ruok12/
-
RUOK11 กลัวรู กลัวตัวตลก กลัวผลไม้ กลัวอะไรแปลกๆ เป็นโรคไหม แล้วรักษาให้หายขาดได้หรือเปล่า
21/05/2018 Duração: 35minกลัวฟ้าร้อง กลัวฟองน้ำ กลัวตัวตลก กลัวผลไม้ กลัวอะไรยุบยับ ทำไมคนเราถึงกลัวอะไรแปลกๆ บางคนกลัวแมว กลัวหมา กลัวอะไรในสิ่งที่คนอื่นไม่กลัวR U OK เอพิโสดนี้ ปอนด์ ยาคอปเซ่น และ ดุจดาว วัฒนปกรณ์ นักจิตบำบัดด้วยการเคลื่อนไหวจะมาหาคำตอบว่าความกลัวคนเรามาจากไหน ทำไมเราถึงกลัวอะไรแปลกๆ มันเป็นโรคที่ต้องรักษาไหม และจะทำอย่างไรให้ความกลัวที่คนอื่นไม่เข้าใจ ให้มันค่อยๆ น้อยลงTime index02:27 ทำไมคนเราถึงกลัว06:37 ความกลัวตามธรรมชาติที่พบได้ทั่วไป10:26 ความกลัว (Fear) กับโรคกลัว (Phobia) ต่างกันอย่างไร12:19 ทำไมคนเราถึงกลัวอะไรแปลกๆ19:10 วิธีการบำบัดความกลัวด้วยการเผชิญหน้าอย่างเป็นระบบ29:03 กลัวอะไรลองตั้งใจฟังเสียงตัวเองอ่าน shownotes ได้ที่ https://thestandard.co/podcast/ruok11/
-
RUOK10 ทำไมเราถึงเลือกโกหกมากกว่าเผชิญหน้า แล้วนิสัยโกหกจนเป็นเรื่องธรรมดาถือว่าป่วยไหม
15/05/2018 Duração: 39minโกหก เป็นพฤติกรรมหนึ่งของมนุษย์ที่ประหลาด เราไม่ชอบให้คนอื่นโกหก แต่บางครั้งเราก็ไม่สามารถห้ามตัวเองให้ไม่โกหกคนอื่นได้ R U OK เอพิโสดนี้ ปอนด์ ยาคอปเซ่น และ ดุจดาว วัฒนปกรณ์ นักจิตบำบัดด้วยการเคลื่อนไหว จึงมาหาสาเหตุว่าทำไมคนเราต้องโกหก แทนที่จะเผชิญหน้ากับความจริง โกหกจนเป็นนิสัยถือว่าเป็นโรคไหม พวกสิบแปดมงกุฎเขาตั้งใจโกหก หรือเขาเชื่อว่าตัวเองเป็นอย่างนั้นจริงๆ และเราจะอยู่ร่วมกับคนชอบโกหกได้อย่างไรTime index03:03 เคสตัวอย่างของการถูกคนโกหก09:26 ทำไมคนเราชอบโกหก14:06 แรงจูงใจในการโกหก24:18 ทำไมเราถึงเลือกการโกหกมากกว่าเผชิญหน้ากับความจริง31:41 ถ้าอยากเลิกโกหกทำอย่างไร34:25 รับมือกับคนชอบโกหกอย่างไรอ่าน shownotes https://thestandard.co/podcast/ruok10/
-
RUOK09 ทราย เจริญปุระ ทำความเข้าใจโรคซึมเศร้า ที่ไม่ต้องปิดเพราะเราแค่ป่วย
08/05/2018 Duração: 59min3 วันดี 4 วันเศร้า คือหนังสือเล่มล่าสุดของ ทราย เจริญปุระ ที่เธอบอกว่าตัวเองก็มีอาการเช่นเดียวกับชื่อหนังสือเล่มนั้น ด้วยโรคซึมเศร้าที่ทำให้บางวันก็หดหู่ รู้สึกไร้ค่าเหมือนที่เธอชอบใช้ศัพท์ว่า ‘วันนี้ผีมา’ อยู่เป็นประจำ นั่นยังไม่นับรวมถึงการที่เธอต้องดูแลแม่ที่ป่วยด้วยโรคสมองเสื่อมและมีประวัติเป็นซึมเศร้าเช่นเดียวกัน R U OK พอดแคสต์ เอพิโสดนี้ ปอนด์ ยาคอปเซ่น และ ดุจดาว วัฒนปกรณ์ นักจิตบำบัดด้วยการเคลื่อนไหว เลยได้โอกาสชวน ทราย เจริญปุระ มาแบ่งปันประสบการณ์ความซึมเศร้า การรู้เท่าทันตัวเอง วิธีดีลให้เราอยู่ร่วมกันได้ ไปจนถึงแนวคิดเรื่องการทดแทนคุณด้วยการดูแลผู้ใหญ่ในสังคมไทย ที่เราสามารถทำความเข้าใจกันใหม่เพื่อให้ไม่มีใครต้องเจ็บปวดกับคำว่าอกตัญญูTime index02:39 ไม่ว่าใครก็มีสิทธิ์เป็นโรคซึมเศร้าได้06:28 สาเหตุและอาการเริ่มต้นของโรคซึมเศร้า15:17 เราอยู่ร่วมกันได้ด้วยการบอกความต้องการของตัวเอง28:25 ก้าวข้ามคำว่าอกตัญญูด้วยการมองแม่อย่างเป็นมนุษย์คนหนึ่ง52:12 โรคซึมเศร้าทำให้มองตัวเองเปลี่ยนไปอ่าน shownotes ได้ที่ https://thestandard.co/podcast/ruok09/
-
RUOK08 ชอบพูดคนเดียว ว่างๆ ก็พูดกับตุ๊กตา เราไม่ได้เป็นบ้าใช่ไหม
30/04/2018 Duração: 31minหลายครั้งถ้าลองสังเกตเพื่อนที่อยู่ข้างๆ เราอาจพบว่าเขาคนนั้นกำลังบ่นพึมพำอะไรอยู่คนเดียวโดยที่ไม่ได้พูดกับเรา และทำให้เราสงสัยอยู่เสมอว่าเขาพูดกับใคร บางครั้งเพื่อนเราก็พูดกับสัตว์เลี้ยง ต้นไม้ หมอนข้างเป็นเรื่องเป็นราว และก็มีเหมือนกันที่เพื่อนทำเสียงเล็กเสียงน้อยเล่นกับตุ๊กตาราวกับเด็กๆ R U OK เอพิโสดนี้ ปอนด์ ยาคอปเซ่น และ ดุจดาว วัฒนปกรณ์ นักจิตบำบัดด้วยการเคลื่อนไหวจึงชวนกันมาหาคำตอบว่าพฤติกรรมการพูดคนเดียวที่ทั้งเราและเพื่อนรอบข้างทำกันอยู่บ่อยๆ นั้นมันโอเคไหม หรือว่ากำลังมีอาการทางจิตกันแน่Time index01:14 พูดคนเดียวแปลกไหม03:32 Self Talk คืออะไร09:32 ฟัง ‘เนื้อหา’ ที่เราพูดกับตัวเอง20:32 พูดกับสัตว์ ต้นไม้ และสิ่งไม่มีชีวิตประหลาดหรือเปล่า27:49 พูดคนเดียวแบบไหนที่ต้องรักษา อ่าน shownotes ได้ที่ https://thestandard.co/podcast/ruok08/
-
RUOK07 เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้ายเหมือนตัวอิจฉาแบบนี้เป็น ไบโพลาร์ หรือเปล่า
23/04/2018 Duração: 24minไม่นานมานี้มีศัพท์ทางจิตวิทยาที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย คือคำว่า ไบโพลาร์ โดยเฉพาะเวลาที่ดูละครแล้วเห็นตัวอิจฉาที่แสดงอาการเดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย โกรธเป็นฟืนเป็นไฟกับคนหนึ่งแล้วฉับพลันทันทีก็อารมณ์ดีใส่ใครอีกคน และเหมาเอาว่าคนที่มีอาการแบบนี้เป็นโรคไบโพลาร์ แถมบางคนก็เอาคำว่าไบโพลาร์ไปแซวเพื่อนที่มีอารมณ์ไม่อยู่กับร่องกับรอยว่าเป็นโรคนี้ ทั้งที่ความเป็นจริงแล้วผู้ป่วยโรคไบโพลาร์ ไม่ได้มีอาการแบบนั้นแม้แต่น้อย R U OK พอดแคสต์ เอพิโสดนี้ ปอนด์ ยาคอปเซ่น และ ดุจดาว วัฒนปกรณ์ นักจิตบำบัดด้วยการเคลื่อนไหว จึงชวนกันมาหาคำตอบว่า จริงๆ แล้วคนที่เป็นไบโพลาร์มีอาการอย่างไร เราสังเกตตัวเองและคนรอบข้างได้อย่างไร โรคนี้เกี่ยวข้องกับฮอร์โมนที่ขึ้นลงช่วงมีประจำเดือนหรือไม่ และสุดท้ายถ้าเป็นไบโพลาร์ขึ้นมาจริงๆ มีโอกาสหายได้ไหมTime index01:59 โรคไบโพลาร์คืออะไร03:39 อารมณ์ทั้ง 2 ขั้วมีอาการอย่างไร11:24 สาเหตุของโรคไบโพลาร์11:45 วิธีการเช็กตัวเองเบื้องต้นว่าเป็นไบโพลาร์หรือไม่16:15 ไบโพลาร์คือโรคที่รักษาได้ไหม18:25 รับมืออย่างไรถ้าคนรอบตัวเป็นไบโพลาร์อ่าน shownotes ได้ที่ https://thestandard.co/podcast/ruok07/
-
RUOK06 หมกมุ่นเรื่องเพศ ใช้แอปนัดเดต สะสมคลิปโป๊ อย่างนี้เข้าข่ายติดเซ็กซ์ไหม
16/04/2018 Duração: 29minR U OK พอดแคสต์ เอพิโสดนี้ ปอนด์ ยาคอปเซ่น และ ดุจดาว วัฒนปกรณ์ นักจิตบำบัดด้วยการเคลื่อนไหว ไม่ได้มาฟันธงว่าการมีเซ็กซ์ที่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรมควรเป็นอย่างไร แต่จะชวนทุกคนมาร่วมสำรวจตัวเองว่ามีอาการอะไรที่บ่งชี้ว่าติดเซ็กซ์บ้างไหม สื่อและเทคโนโลยีทำให้ความง่ายของการมีเซ็กซ์นำไปสู่การติดจริงหรือไม่ ระดับไหนถึงควรหาหมอ รวมถึงคนในครอบครัวจะเข้าไปช่วยเหลืออย่างไรถ้ามีคนที่บ้านติดเซ็กซ์ขึ้นมาจริงๆ Time index02:43 ใช้แอปนัดเดตเพื่อหาคู่นอนถือว่าติดเซ็กซ์ไหม04:49 เข้าเว็บโป๊บ่อยๆ ถือว่าติดเซ็กซ์ไหม06:32 ความรู้สึกของคนติดเซ็กซ์เป็นอย่างไร11:08 จะทำอย่างไรหากสามีหรือภรรยาติดเซ็กซ์12:53 การใช้เซ็กซ์ทอยถือว่าติดเซ็กซ์ไหม17:20 สวิงกิ้ง เที่ยวอาบอบนวด โชว์ของลับ ติดเซ็กซ์ไหม21:23 จะจัดการอย่างไรถ้ามีคนในครอบครัวติดเซ็กซ์
-
RUOK05 สิ่งของต้องวางเป๊ะ ล้าง ปิด เช็กอะไรซ้ำๆ เราเป็นโรคย้ำคิดย้ำทำหรือเปล่า
09/04/2018 Duração: 28minสิ่งแรกเมื่อพูดถึงอาการทางจิตเวชอย่างการย้ำคิดย้ำทำ หลายคนจะนึกถึงภาพคนที่ชอบล้างมือบ่อยๆ ก่อนออกจากบ้านก็เช็กสวิตช์ไฟ เช็กว่าปิดเตาแก๊สเรียบร้อยหรือเปล่า ล็อกบ้านดีหรือยัง ซ้ำๆ อยู่หลายครั้ง จนบางทีก็ไม่แน่ใจว่าคนรอบตัวของเราเป็นโรคย้ำคิดย้ำทำ หรือแค่เป็นคนรักความสะอาดและละเอียดรอบคอบมากๆ กันแน่ ปอนด์ ยาคอปเซ่น และ ดุจดาว วัฒนปกรณ์ ชวนทุกคนมารู้จักอาการของโรคย้ำคิดย้ำทำให้มากขึ้น ให้หายสงสัยว่า แบบไหนถึงเรียกว่าแบบไหนที่คนทั่วไปก็เป็นกัน และแบบไหนต้องหาหมอTime index02:47 จริงๆ แล้วย้ำคิดย้ำทำมีอาการอย่างไร07:17 ย้ำคิดย้ำทำไม่ได้มีแค่ทำอะไรซ้ำๆ14:45 ปัญหาทางจิตส่วนใหญ่ซับซ้อนและทับถมกันมา20:15 รักความสะอาดกับย้ำคิดย้ำทำแตกต่างกันอย่างไร21:25 Perfectionist กับย้ำคิดย้ำทำ23:22 ถ้าคนรอบตัวมีอาการย้ำคิดย้ำทำเราควรจะรับมืออย่างไรอ่าน shownotes ได้ที่ https://thestandard.co/podcast/ruok05/
-
RUOK04 ทำไมช้อปแหลกเวลาเครียดเราถึงสบายใจ แล้วช้อปหนักแค่ไหนถึงเรียกเสพติด
03/04/2018 Duração: 35minสิ่งหนึ่งที่ผู้หญิงมักทำเป็นประจำเพื่อลดความเครียด คือการช้อปปิ้ง ทั้งการเลือกซื้อกระเป๋า เสื้อผ้า รองเท้า ตามห้างสรรพสินค้า บางคนเห็นป้าย SALE ไม่ได้ต้องพุ่งเข้าหา แถมทุกวันนี้สะดวกสบายขึ้นด้วยการช้อปปิ้งออนไลน์ แค่คลิกๆ หน้าจอก็มีของมาส่งถึงบ้าน เมื่อสำรวจตู้เสื้อผ้าดูอาจพบว่า มีหลายชุดที่ยังไม่ได้แกะป้ายราคาด้วยซ้ำ รองเท้าบางคู่ก็ซื้อมาใช้แค่ไม่กี่ครั้ง แต่เราก็ยังซื้อเรื่อยไปไม่หยุด หลายคนเริ่มเอะใจว่าตัวเองเข้าขายเสพติดการช้อปปิ้งไปแล้วหรือเปล่า แล้วถ้าติดมันเข้าจริงๆ เราควรทำอย่างไร R U OK เอพิโสดนี้อยากชวนทุกคนมาสำรวจตัวเองว่า ช้อปดุขนาดไหนถึงเรียกว่าติด แล้วเราควรบำบัดตัวเองอย่างไรให้มีสติมากขึ้นในการช้อปครั้งหน้าTime index02:20 สาเหตุของการเสพติดการช้อปปิ้งคืออะไร08:29 การตลาดและการเสพติดการช้อปปิ้ง10:53 เราจะจัดการตัวเองอย่างไรเมื่อรู้สึกขาด14:00 6 คำถามไว้ถามตัวเองก่อนช้อป25:41 วิธีเยียวยาเบื้องต้นถ้าเริ่มเสพติดการช้อปปิ้ง28:32 บอกคนในครอบครัวอย่างไรให้ไปบำบัดการเสพติดอ่าน shownotes ได้ที่ https://thestandard.co/podcast/ruok04/
-
RUOK03 ชอบอยู่คนเดียว ไม่ยุ่งกับใคร เรียกว่าเป็น Introvert ไหม แล้วใช่โรคที่ต้องรักษาหรือเปล่า
27/03/2018 Duração: 36minไม่กี่ปีมานี้มีศัพท์ทางจิตวิทยาคำหนึ่งซึ่งแพร่หลายให้เราได้ยินมากขึ้นเรื่อยๆ นั่นคือ อินโทรเวิร์ต (Introvert) อย่างไรก็ตาม คนส่วนใหญ่เมื่อได้ยินคำนี้ก็จะเข้าใจไปว่าเป็นอาการของคนชอบอยู่คนเดียว ไม่สุงสิงสังสรรค์ ทำตัวแปลกแยกจากคนหมู่มาก ไปจนถึงต่อต้านสังคม (Antisocial) หรือมักเศร้าหม่นอยู่ตลอดเวลา ซึ่งไม่ใช่ความจริงเสียทั้งหมด ปอนด์ ยาคอปเซ่น ชวน ดุจดาว วัฒนปกรณ์ นักจิตบำบัดด้วยการเคลื่อนไหว มาหาคำตอบว่าจริงๆ แล้ว Introvert คืออะไรกันแน่ เกี่ยวกับอาการซึมเศร้าไหม ใช่โรคที่ต้องรักษาหรือเปล่า แล้วถ้า Introvert และ Extrovert จำเป็นต้องมาเจอกัน จะอยู่กันอย่างไรด้วยความเข้าใจให้มีความสุขTime index03:07 Introvert คืออะไร05:47 Introvert กับ Extrovert จะอยู่ร่วมกันได้อย่างไร09:33 ข้อดีของ Introvert15:03 Introvert เกี่ยวข้องกับการปลีกตัวคนเดียวแค่ไหน17:44 Introvert พร้อมเปิดตัวเองในสิ่งแวดล้อมที่ถูกต้อง19:55 การอยู่ร่วมกันของ Introvert และ Extrovert25:40 Introvert กับการเสี่ยงเป็นโรคต่างๆอ่าน shownotes ได้ที่ https://thestandard.co/podcast/ruok03/
-
RUOK02 ติ่ง หนักขนาดนี้ยังโอเคอยู่ไหม ควรเข้าใจและช่วยเหลืออย่างไรถ้ามันไปไกลกว่าคำว่าพอดี
20/03/2018 Duração: 30minภาพของแฟนคลับกรี๊ดศิลปินคนโปรดตามงานอีเวนต์หรือคอนเสิร์ตนั้นเป็นเรื่องปกติที่เราคุ้นเคยกันดี แต่ในความเป็นจริง ยังมีแฟนคลับขั้นกว่าที่เรียกกันว่า ‘ติ่ง’ ที่อาจถึงขั้นติดตามไปทุกที่ที่ศิลปินออกงาน บางคนสะสมผลงานของ ‘เมน’ (ศิลปินที่ชอบที่สุดในวงนั้นๆ) ครบทุกเวอร์ชันแม้บางครั้งต่างกันแค่หน้าปก บางคนตามไปถึงต่างประเทศ หรือบางคนก็ลงทุนซื้อของชิ้นใหญ่ๆ มูลค่าหลายหลักให้ก็มี พฤติกรรมของติ่งข้างต้นจึงเป็นที่สงสัยของใครหลายคนว่า มันเกินพอดีไปหรือเปล่า เรียกว่ายังโอเคอยู่ไหม ความคลั่งไคล้ในระดับนี้เป็นสิ่งที่ต้องรักษาเยียวยาหรือไม่ พอดแคสต์ R U OK เอพิโสดนี้จะพาไปรู้จักความติ่ง และหวังว่าจะทำให้คุณเข้าใจคนใกล้ตัวมากขึ้น หากเขาหรือเธอไปติ่งศิลปินหรือดาราที่ไหนสักคนTime index04:17 ระดับความติ่ง09:52 ทำไมถึงติ่ง13:15 ติ่งหนักแค่ไหนถึงต้องไปหาหมอ13:58 ถ้าพ่อแม่เป็นติ่ง ควรทำอย่างไร18:23 ถ้าลูกเป็นติ่ง พ่อแม่ควรเข้าใจอย่างไร23:55 เป็นติ่งไม่เดือดร้อนใครแต่มีเรื่องอะไรที่ควรระวังบ้าง26:55 ถ้าเพื่อนติ่งหนักมาก เราจะปรับทัศนคติตัวเองอย่างไรอ่าน shownotes ได้ที่ https://thestandard.co/podcast/ruok02/
-
RUOK01 วีนแตก หัวร้อน ขึ้นง่าย ควรจัดการตัวเองอย่างไร และแค่ไหนถึงต้องไปหาหมอ
12/03/2018 Duração: 35minความโกรธ เป็นหนึ่งความรู้สึกที่เกิดขึ้นได้ในชีวิตประจำวัน แต่มีความโกรธอีกลักษณะหนึ่งที่เกิดขึ้นทันทีทันใดโดยที่เราไม่สามารถควบคุมได้ และบางครั้งไม่รู้ตัวด้วยซ้ำ หลายคนเรียกมันว่าการ ‘ปรี๊ด’ อาการนี้เกิดได้กับคนใกล้ตัวอย่างคนในครอบครัว และบางครั้งก็เกิดขึ้นกับคนที่ไม่รู้จักกันมาก่อนอย่างที่เราเห็นกันในข่าว ถ้าลองสังเกต ระยะหลังเราจะพบเห็นคนปรี๊ดแตกกันง่ายขึ้น เกรงใจกันน้อยลง คำถามที่ตามมาคือแค่ไหนที่ยังอยู่ในระดับที่รับได้ แล้วแค่ไหนที่เรียกว่าต้องขอความช่วยเหลือTime index01:10 ทุกวันนี้คนปรี๊ดกันง่ายขึ้นไหม03:23 ทำไมเรามักปรี๊ดง่ายกับคนใกล้ตัว11:44 วิธีจัดการกับการปรี๊ด16:11 สาเหตุที่คนปรี๊ด22:20 หลักในการทบทวนตัวเอง26:00 เมื่อไร แค่ไหน เราถึงควรพบแพทย์ได้แล้ว29:03 บำบัดอาการเบื้องต้นด้วยตัวเองอ่าน shownotes ได้ที่ https://thestandard.co/podcast/ruok01/