Sinopse
Episódios
-
RUOK112 ดูแลกายและใจอย่างไร เมื่อถูกวินิจฉัยว่ามีโรคซึมเศร้า
21/10/2019 Duração: 18minคนจำนวนไม่น้อยที่เดินเข้าไปพบจิตแพทย์ และถูกวินิจฉัยว่ามีโรคซึมเศร้า อาจเกิดความสงสัยว่านอกจากการกินยาอย่างสม่ำเสมอแล้ว ควรปฏิบัติตัวอย่างไรอีกบ้าง R U OK ชวน พญ.ทานตะวัน อวิรุทธ์วรกุล จิตแพทย์จากสถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ มาตอบข้อสงสัยทั้งกินยาแล้วกินแอลกอฮอล์ได้ไหม? จำเป็นต้องออกกำลังกายหรือเปล่า? จะมีวิธีสังเกตสิ่งกระตุ้นที่ทำให้เกิดโรคซึมเศร้าได้อย่างไร เพื่อให้ช่วงเวลาที่ไม่เจอหมอเราสามารถประคองตัวเองให้ผ่านไปได้
-
RUOK111 ไปเจอจิตแพทย์ครั้งแรกควรทำตัวอย่างไร และผิดไหมหากไม่รู้สึกไม่คลิกกับหมอ
17/10/2019 Duração: 22minอยากไปหาจิตแพทย์ครั้งแรกควรทำอย่างไร? ต้องเตรียมตัวเล่าเรื่องตัวเองไหม? คลินิก โรงพยาบาลรัฐ โรงพยาบาลเอกชนต่างกันอย่างไร? ใช้สิทธิบัตรทองหรือประกันสังคมได้หรือเปล่า? วอล์กอินได้ไหมหรือต้องโทรจองก่อน? R U OK คุยกับ พญ.ทานตะวัน อวิรุทธ์วรกุล เพื่อตอบคำถามของการไปหาจิตแพทย์ครั้งแรกว่าควรปฏิบัติตัวอย่างไร เพื่อให้การไปพบแพทย์มีความหมายมากที่สุด
-
RUOK110 เมื่อวัยรุ่นมีภาวะซึมเศร้า จะสื่อสารอย่างไรให้คนรอบข้างเข้าใจ
14/10/2019 Duração: 21minวัยรุ่นเป็นวัยที่เผชิญกับความเปลี่ยนแปลงหลายอย่างในชีวิต ทั้งด้านร่างกาย ความคิด และสังคม จึงเป็นวัยหนึ่งที่อาจเกิดความเครียดและนำไปสู่ภาวะซึมเศร้าได้ไม่ต่างจากวัยผู้ใหญ่ R U OK ชวน ต้น-นรพันธ์ ทองเชื่อม นักจิตวิทยาผู้เชี่ยวชาญด้านเด็กและวัยรุ่น มาร่วมหาทางออกว่า ถ้าวัยรุ่นเริ่มรู้สึกว่าตัวเองอาจเข้าข่ายมีภาวะซึมเศร้า ควรเริ่มต้นสื่อสารกับใคร ด้วยวิธีการไหน จึงจะนำมาสู่ความเข้าใจและประคับประคองจิตใจไปด้วยกัน
-
RUOK109 7 เรื่องของโรคซึมเศร้า ที่ชวนทำความเข้าใจ
10/10/2019 Duração: 29minR U OK ในซีรีส์โรคซึมเศร้าเอพิโสดนี้ ชวน ต้น-นรพันธ์ ทองเชื่อม นักจิตวิทยามาพูดคุยกันอีกครั้งถึง 7 เรื่องของโรคซึมเศร้า ที่เราอาจไม่เข้าใจเพราะนึกหน้าตาและความรู้สึกนั้นไม่ออก บางคนเชื่อว่าไม่ต้องไปพบแพทย์แต่สามารถชนะได้ด้วยใจ, บางคนเชื่อว่าถ้าผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ ก็เท่ากับปกติดี, บางคนสงสัยว่าทำไมอยู่เป็นเพื่อนแล้ว ผู้ป่วยถึงยังเศร้า ฯลฯ R U OK จะค่อยๆ ทำความรู้จักเกี่ยวกับโรคนี้ให้ดีมากยิ่งขึ้น
-
RUOK108 โรคซึมเศร้าไม่ได้แค่เศร้า เพราะแต่ละวัยก็มีการแสดงออกที่ต่างกัน
07/10/2019 Duração: 15min‘วันนี้เราจะไม่เศร้า’ ซีรีส์ใหม่ประจำเดือนตุลาคมของ R U OK ที่ว่าด้วยเรื่องโรคซึมเศร้า ซึ่งแม้เราจะพูดถึงเรื่องนี้อยู่บ่อยครั้ง แต่เพราะโรคที่ใกล้ตัวเราและคนรอบข้างขึ้นมาทุกที R U OK เลยขอลงรายละเอียด เพื่อให้เข้าใจโรคนี้ได้ดียิ่งขึ้น เอพิโสดนี้ชวน หมอเอิ้น-พิยะดา หาชัยภูมิ มาให้ความรู้เกี่ยวกับโรคซึมเศร้าที่แสดงอาการต่างกันไปในแต่ละวัย ในวัยเด็กอาจก้าวร้าว หงุดหงิด ส่วนผู้สูงวัยอาจซึม พูดน้อย ดังนั้นเราจะมีวิธีการสังเกตอย่างไรเพื่อได้พบผู้เชี่ยวชาญได้ทันท่วงที
-
RUOK107 Self-Management ทักษะในการจัดการชีวิตอย่างมีเป้าหมาย ที่ต้องเรียนรู้กันไปทั้งชีวิต
03/10/2019 Duração: 20minเอพิโสดสุดท้ายในซีรีส์ ‘Self’ ว่าด้วยเรื่อง Self-Management หรือการบริหารจัดการตัวเอง โดยมีแขกรับเชิญพิเศษคือ ฟ้า-ษริกา สารทศิลป์ศุภา อินฟลูเอนเซอร์รุ่นใหม่ที่ผ่านประสบการณ์การบริหารจัดการชีวิตด้วยแนวคิดที่แตกต่าง พร้อมแลกเปลี่ยนความเห็นกับคนต่างเจเนอเรชันอย่าง ดุจดาว วัฒนปกรณ์ ว่าจริงๆ แล้วหลักในการบริหารจัดการชีวิตและจิตใจสามารถทำได้จริงไหม มีขั้นตอนอย่างไร และเป้าหมายแบบไหนที่โอเคสำหรับตัวเอง
-
RUOK106 ความมั่นคงและความปลอดภัยทางใจ รากฐานสำคัญของการมี Self-Esteem
30/09/2019 Duração: 21minในซีรีส์ ‘Self’ หากจะไม่พูดถึง ‘Self-Esteem’ เลย ก็คงจะไม่ได้ แต่ครั้งนี้เราจะพาไปมอง ‘Self-Esteem’ ที่ผูกโยงกับความต้องการขั้นพื้นฐานของมนุษย์ R U OK เอพิโสดนี้เลยชวน ต้น-นรพันธ์ ทองเชื่อม นักจิตวิทยาผู้เชี่ยวชาญด้านเด็กและวัยรุ่น ย้อนไปให้เห็นที่มาของ ‘Self-Esteem’ ซึ่งถูกหล่อหลอมมาจากการเลี้ยงดูของครอบครัวและโรงเรียน และเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่เราจะสังเกตตัวเองได้อย่างไรว่าเรารับรู้คุณค่าในตัวเองต่ำเกินความเป็นจริงหรือเปล่า
-
RUOK105 Self-Awareness ประตูบานแรกที่เปิดเข้าสู่จักรวาลในใจ และทำให้เราตระหนักรู้ในตัวเอง
26/09/2019 Duração: 18minR U OK พอดแคสต์ยังอยู่ในซีรีส์ ‘SELF’ โดยเอพิโสดนี้ขอพาไปทำความรู้จักกับคำว่า ‘Self-Awareness’ ศัพท์ทางจิตวิทยาที่ไม่ค่อยได้ยิน แต่มีความสำคัญเพราะมันคือการตระหนักรู้ในตัวเองว่าเราคือใคร คล้ายกับการเปิดประตูเข้าไปทำความรู้จักจักรวาลอันกว้างใหญ่ไพศาลในตัวเอง เจอทั้งเรื่องดี เรื่องร้าย มุมที่น่ารัก มุมที่น่าชังมากมาย พร้อมแล้ว มาเปิดประตูกัน
-
R U OK104 เราจำเป็นต้องรู้จัก ‘ตัวตน’ ของตัวเองไหม ในเมื่อตัวเราก็เปลี่ยนไปทุกวัน
23/09/2019 Duração: 17minR U OK ซีซั่น 3 กลับมาแล้ว! ซีซั่นนี้ดุจดาว วัฒนปกรณ์จะเชิญผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายวงการ มาเจาะลึกด้านจิตวิทยา รวมถึงแต่ละเดือนจะนำเสนอเป็นซีรีส์เพื่อทำความรู้จักตัวเองให้ลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น เริ่มที่ซีรีส์แรก ‘SELF’ คำตั้งต้นของศัพท์ทางจิตวิทยาหลายๆ คำ เป็นเรื่องที่ใกล้ตัวเรามากที่สุด แต่ก็เป็นเรื่องที่เข้าใจยากมากที่สุดเรื่องหนึ่งเหมือนกัน ตัวตนที่แท้จริงเราคือใคร ความต้องการคืออะไร และตัวตนที่แท้เราเป็นแบบไหนเพราะเราเองก็เปลี่ยนแปลงไปในทุกวัน
-
RUOK41 คิดถึงความตายบ่อยๆ เป็นอะไรไหม คิดถึงความตายในแง่มุมไหนที่ควรระวัง [RE-BROADCAST]
10/09/2019 Duração: 13minเนื่องในวันที่ 10 กันยายน เป็นวันป้องกันการฆ่าตัวตายโลก R U OK ชวนสำรวจความคิดเกี่ยวกับความตายที่อาจลั่นขึ้นมาในหัว ว่าความคิดแบบไหนที่ยัง Healthy ความคิดแบบไหนที่ควรระวัง การวางแผนในช่วงบั้นปลายชีวิตกับความคิดอยากฆ่าตัวตายเหมือนกันหรือไม่ และเมื่อคนรอบข้างยกประเด็นความตายมาปรึกษา เราควรใส่ใจอย่างไร Time index 01:58 คิดถึงความตายกับคิดอยากฆ่าตัวตายต่างกันอย่างไร 02:55 เราหลีกเลี่ยงการพูดถึงความตายเพราะกลัวเป็นเรื่องไม่มงคล 04:34 อยากฆ่าตัวตายคือการตั้งคำถามกับคุณค่าของชีวิตตัวเอง 09:00 ถ้าเพื่อนพูดถึงเรื่องความตาย อย่าเพิ่งปัดตก แต่ให้ตั้งใจฟัง 10:06 คิดถึงความตายแบบไหนที่ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ
-
RUOK66 ทั้งอิ่ม ทั้งรู้สึกผิด แต่ยังกินไม่หยุด อาจเข้าข่ายภาวะกินแบบหยุดไม่ได้ ซึ่งต้องได้รับการรักษา [RE-BROADCAST]
30/08/2019 Duração: 17minอาการทางกายกับความรู้สึกทางใจสัมพันธ์กันอย่างที่เราคาดไม่ถึง หลายพฤติกรรมที่เราเห็นจึงมีสาเหตุลึกๆ ซ่อนอยู่ภายในจิตใจ โดยเฉพาะการกินที่เราทำกันอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน บางครั้งก็ควบคุมตัวเองไม่ได้ กินจนเกินความต้องการจนบางครั้งอาเจียนออกมา R U OK เอพิโสดนี้จึงชวนไปสำรวจเหตุผลทางใจว่า ทำไมถึงเกิดอาการกินแบบหยุดไม่ได้ ความรู้สึกอะไรที่ซ่อนอยู่หลังพฤติกรรมเหล่านี้ และหากอยากบำบัดรักษาจะมีโอกาสดีขึ้นไหม Time index 02:53 จินตนาการกับมโนเหมือนหรือต่างกันอย่างไร 03:05 เราจินตนาการกันมาตั้งแต่เด็กด้วยการเล่น 03:29 จินตนาการทำให้แรงปรารถนาลึกๆ ของมนุษย์ได้บริหาร 08:20 ถ้าเสียเวลาไปกับการมโนเกินไป ควรทำอย่างไร 09:22 บางคนแยกแยะเรื่องจริงกับเรื่องมโนได้ แต่ยับยั้งความรู้สึกไม่ได้ 11:35 แยกเรื่องจริงกับเรื่องมโนไม่ได้ อาจมีบุคลิกภาพที่ผิดปกติ
-
RUOK47 มโน จิ้น จินตนาการบ่อยๆ ทำให้บริหารแรงปรารถนาในใจแต่มโนหนักแค่ไหนถึงต้องหาหมอ [Re-Broadcast]
27/08/2019 Duração: 18minในด้านจิตใจการจินตนาการหรือการมโนมีประโยชน์ตรงที่เราได้ทบทวนตัวเอง นำเอาแรงปรารถนาลึกๆ ที่ไม่สามารถทำได้ในชีวิตประจำวันออกมาบริหารคล้ายๆ กับการเล่นของเล่นในวัยเด็ก แต่ถ้าเริ่มแยกความจริงกับสิ่งที่จินตนาการไม่ออก ก็ควรได้รับการปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ R U OK เอพิโสดนี้จึงชวนมาชี้เส้นแบ่งที่ว่า พร้อมทั้งชวนสำรวจอาการอื่นๆ ที่มาจากมโน Time index 02:53 จินตนาการกับมโนเหมือนหรือต่างกันอย่างไร 03:05 เราจินตนาการกันมาตั้งแต่เด็กด้วยการเล่น 03:29 จินตนาการทำให้แรงปรารถนาลึกๆ ของมนุษย์ได้บริหาร 08:20 ถ้าเสียเวลาไปกับการมโนเกินไป ควรทำอย่างไร 09:22 บางคนแยกแยะเรื่องจริงกับเรื่องมโนได้ แต่ยับยั้งความรู้สึกไม่ได้ 11:35 แยกเรื่องจริงกับเรื่องมโนไม่ได้ อาจมีบุคลิกภาพที่ผิดปกติ
-
RUOK65 การเลี้ยงดูของครอบครัวอาจเป็นส่วนหนึ่งของความรู้สึกไร้ค่า และหากรู้สึกไม่เป็นที่ต้องการขึ้นมา ควรฟังเสียงตัวเองอย่างไร [Re-Broadcast]
20/08/2019 Duração: 17minความรู้สึกไร้ค่า เป็นอารมณ์ที่เกิดขึ้นได้กับมนุษย์ทุกคน เมื่อกำลังเผชิญสถานการณ์ที่รู้สึกว่าตัวเองสามารถเป็นประโยชน์หรือแสดงศักยภาพได้เต็มที่มากกว่าที่เป็นอยู่ เช่น บางครั้งรู้สึกว่าเป็นพนักงานที่ไม่มีประโยชน์ต่อองค์กรเท่าที่ควร เป็นประชาชนที่ไม่สามารถขับเคลื่อนความเป็นไปของประเทศ หรือแม้แต่หน่วยเล็กๆ อย่างครอบครัวเราก็อาจรู้สึกไม่เป็นที่ต้องการ แต่สำหรับบางคน ความรู้สึกไร้ค่าก็เกิดขึ้นบ่อยจนชวนให้สงสัย R U OK เอพิโสดนี้เลยชวนสำรวจความไร้ค่าที่บางครั้งอาจมาจากเรื่องเล็กๆ ในครอบครัวที่มองข้าม แต่กลับส่งผลมากมายกับความรู้สึก พฤติกรรมที่ว่าคืออะไร และเราจะรู้เท่าทันตัวเองอย่างไรเมื่อเกิดความรู้สึกนี้ขึ้น Time index 02:08 ความรู้สึกไร้ค่าแสดงออกด้วยพฤติกรรมที่ไม่เหมือนกัน 03:47 ความรู้สึกไร้ค่าเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน 04:25 ลึกๆ แล้วบางคนรู้สึกเป็นพนักงานที่ไม่ได้ทำประโยชน์ต่อองค์กร 04:55 บางคนแสดงความรู้สึกไร้ค่าด้วยความคิดที่ว่าไม่ทำคนเดียวก็ไม่เห็นเป็นไร 06:24 เด็กรับรู้ถึงคุณค่าผ่านเงินไม่ได้ 09:24 เด็กบางคนต้องแบกรับความรู้สึกว่าพ่อแม่ไม่แคร์มาจนโต 10:10 พื้นฐานของการอยู่ด้วยกันคือการสัมผัส ใส่
-
RUOK SPECIAL ฝึกงาน ฝึกใจ และร่วมสร้าง R U OK ซีซั่นใหม่ไปด้วยกัน
09/08/2019 Duração: 08minระหว่างที่พักซีซั่นสั้นๆ เพื่อเตรียมตัวขึ้นซีซั่นใหม่ ดุจดาว วัฒนปกรณ์ และโปรดิวเซอร์ประจำรายการเลยอยากชวนคนที่สนใจมาฝึกงาน R U OK รับรองว่านอกจากจะได้สำรวจพฤติกรรม ความคิดของมนุษย์กันอย่างละเอียดลออ ยังได้ฝึกทำพอดแคสต์กันตั้งแต่ก้าวแรกอย่างไม่มีกั๊ก ติดตามรายละเอียดการฝึกงานได้ที่ลิงก์นี้ https://thestandard.co/podcast/ruokspecial/
-
RUOK15 ทำไมเราถึงชอบออกคำสั่งกับบางคนและบางเวลา และถ้าอยากแก้นิสัยนี้ ควรทำอย่างไร [Re-Broadcast]
02/08/2019 Duração: 27minหันไปทางไหนเราก็มีโอกาสเจอคนออกคำสั่ง พ่อแม่สั่งให้ทำโน่นทำนี่ เข้าโรงเรียนก็เจอรุ่นพี่ เจอครู ที่บังคับขู่เข็ญ จนถึงโตเป็นผู้ใหญ่เรายังมีสิทธิเจอเจ้านายจอมบงการที่ไม่ฟังลูกน้อง R U OK เลยหาคำตอบว่าภายใต้คำสั่ง ในด้านจิตวิทยาเกิดขึ้นจากอะไร เราสามารถเปลี่ยนแปลงอะไรเขาได้ไหม และถ้าเราต้องอยู่ร่วมกับคนที่ชอบออกคำสั่งจะทำอย่างไรให้สงบสุข Time index 01:51 ภาวะความเป็นผู้นำและการชอบออกคำสั่งคนอื่น 05:52 เราเองก็ชอบออกคำสั่งกับบางคน และบางเวลา 10:27 ชอบออกคำสั่งเป็นบุคลิกภาพหรือเป็นโรค 14:06 เลิกใช้คำว่า ‘ทำไม’ แต่ลองเปลี่ยนเป็น ‘อะไร’ 19:34 เพราะอะไรคนถึงชอบออกคำสั่งคนอื่น 23:35 ถ้าเราอยู่ร่วมกับคนชอบออกคำสั่งจะทำอย่างไร 26:06 วิธีแก้นิสัยชอบออกคำสั่ง อ่าน shownotes ได้ที่ https://thestandard.co/podcast/ruok15/
-
RUOK30 ทัศนคติของอำนาจการควบคุมความถูกต้องมาจากไหน และจะใช้ชีวิตอย่างไรถ้าต้องอยู่กับคนที่มีนิสัยชอบแก้ไขคนอื่น [Re-Broadcast]
30/07/2019 Duração: 16minR U OK ขอชวนคุยกันถึงพฤติกรรมการแก้ไขข้อมูลหรือคำผิดของคนอื่น ที่ปฏิเสธไม่ได้ว่าอีกฝ่ายผิดจริงๆ แต่บางครั้งจังหวะหรือวิธีการอาจสร้างความรู้สึกเสียหน้าและอับอาย เราไม่ได้ตัดสินว่าใครผิดหรือถูก แต่จะมาร่วมค้นหากันว่าอะไรเป็นสาเหตุที่ผลักให้คนคนหนึ่งไปแก้ไขคนอื่น ส่วนอีกฝ่าย อะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้ไม่รู้ตัวว่าสะกดผิดหรือให้ข้อมูลผิด และทั้งสองฝ่ายจะอยู่ร่วมกันอย่างไรให้เข้าใจกัน Time index 03:54 ที่มาของการจับผิดมาจากรู้สึกการได้รับอำนาจควบคุมความถูกต้อง 04:47 ร่วมกันแสดงความเห็นว่าถ้ามีคนพูดผิดจะแก้ไขไหม 08:29 การเขียนวรรณยุกต์ให้ถูกต้องคือเรื่องทักษะ 11:00 อย่าเห็นเพียงการกระทำของตัวเองที่ไปแก้ แต่ให้นึกถึงคนตรงหน้าด้วย 12:42 ลองก้าวข้ามผ่านความผิดพลาดของตัวและคนอื่น 14:41 จะร่วมงานกับคนชอบแก้ไขคนอื่นอย่างไร อ่าน shownotes ได้ที่ https://thestandard.co/podcast/ruok30
-
RUOK17 ทำงานเยอะไม่ได้แปลว่าบ้างาน จุดชี้วัดอยู่ตรงไหน และหากอยากจัดตารางชีวิตใหม่ควรทำอย่างไรดี [Re-Broadcast]
26/07/2019 Duração: 16minจะด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีหรืออะไรก็ตามที่เอื้อให้ทุกวันนี้เราทำงานได้ทุกที่ทุกเวลา ทำงานกันหามรุ่งหามค่ำ จนบางครั้งก็อาจสงสัยตัวเองว่าที่เป็นอยู่นั้นเรากลายเป็นคนบ้างานไปแล้วหรือเปล่า R U OK ชวนหาจุดสังเกตว่าแค่ไหนถึงเรียกว่าบ้างาน คนที่ให้ความสำคัญกับงานจนไม่สนใจชีวิตด้านอื่น เขาเหล่านั้นต้องการอะไร และถ้าอยากจูนชีวิตใหม่เราจะเริ่มจัดตารางอย่างไรให้มีคุณภาพ Time index 02:11 อาการบ้างานสังเกตจากผลกระทบ 3 ด้าน 08:23 ทำไมคนเราถึงบ้างาน 12:00 เราจะปรับตารางชีวิตให้ดีขึ้นได้อย่างไร
-
RUOK63 เพราะอะไรจึงเผลอดึงหน้าแบบไม่รู้ตัว และจะฝึกเก็บสีหน้าอย่างไรให้เหมาะสมกับสถานการณ์ [Re-Broadcast]
23/07/2019 Duração: 18min“นี่ไม่ได้คิดอะไรเลย หน้ามันไปเองเฉยๆ” หลายคนอาจอธิบายทำนองนี้เมื่อถูกเพื่อนทักว่าหน้าเหวี่ยง แต่เคยถามตัวเองไหมว่าจริงๆ แล้วเรากำลังรู้สึกอะไร ความรู้สึกที่คิดว่าเก็บไว้ดีแล้วทำไมถึงเล็ดลอดออกมาจนอีกฝ่ายสังเกตได้ เพราะกายกับใจสัมพันธ์กันอย่างแยกไม่ออก R U OK เอพิโสดนี้จึงพาไปหาสาเหตุว่าทำไมอวัจนภาษาเล็กๆ น้อยๆ ถึงแสดงออกมาโดยที่เราไม่รู้ตัว และจะฝึกอย่างไรให้เรารู้จักจัดการภาษากายเพื่อให้เหมาะแต่ละสถานการณ์และผู้ที่เรากำลังจะสื่อสารด้วย Time index 01:19 ภาษากายมีผลต่อการสื่อสารมากที่สุด 02:01 ภาษากายคือภาษาแรกของมนุษย์ตั้งแต่เกิด 04:11 ร่างกายกับจิตใจโกหกกันไม่ได้ แต่เราแสดงออกไม่ได้ในทุกโอกาส 05:34 วิธีการฝึกควบคุมอารมณ์ สีหน้า และภาษากาย 08:10 Shadow Movement การเคลื่อนไหวร่างกายที่เราไม่รู้ตัวเพราะเชื่อมโยงกับจิตใต้สำนึก อย่างกะกดปากกาหรือเขย่าขา 11:50 การแสดงออกทางกายแบบไหนที่แสดงความไม่เห็นด้วย 12:48 เรามีการควบคุมการจัดวางร่างกายแค่ไหน, เรามีสติเท่าทันแค่ไหน และเรามีความสามารถบรรจุสภาวะความไม่เห็นด้วยในใจได้มากแค่ไหน ทั้งหมดฝึกกันได้ 13:21 คนหน้าเหวี่ยง หน้าดุ จริงๆ แล้วเขารู้สึกอะไร
-
RUOK34 ลน ประหม่าเมื่อเจอความกดดันจะจัดการให้ดีขึ้นได้ไหมและทำอย่างไรเมื่อต้องการพูดต่อหน้าคนจำนวนมาก [Re-Broadcast]
19/07/2019 Duração: 18minเมื่อเผชิญสภาวะตึงเครียด หรือตกอยู่ภายใต้ความกดดัน เราต่างมีวิธีการรับมือที่ไม่เหมือนกัน บางคนเครียด ลน ประหม่าจนไม่สามารถรับมืออะไรไหว แต่ทั้งหมดล้วนเป็น ‘ทักษะ’ ที่สามารถพัฒนาให้ดีขึ้นได้ R U OK พาไปสำรวจสาเหตุว่าทำไมแต่ละคนถึงจัดการกับความกดดันต่างกันและในสถานการณ์ที่เรากดดันมากๆ อย่างการพูดต่อหน้าคนจำนวนมาก จะฝึกฝนตัวเองอย่างไร Time index 02:00 ทำไมเราจึงมีวิธีการรับมือกับความกดดันแตกต่างกัน 02:43 ทำไมบางคนจึงลนเมื่อเจอความกดดัน 04:20 ประสบการณ์และการเลี้ยงดูมีผลต่อการรับความกดดัน 05:39 วิธีการรับมือกับความประหม่าเมื่อต้องพูดต่อหน้าคนเยอะๆ
-
RUOK103 เราจะสร้างพื้นที่ทางใจอย่างไรให้ปลอดภัยและไม่ตัดสิน
01/07/2019 Duração: 20minพูดให้เข้าใจง่ายขึ้น ‘พื้นที่ทางจิตวิญญาณ’ อาจหมายถึงพื้นที่ทางกายภาพที่เราได้สงบจิตใจ หรือพื้นที่ทางความสัมพันธ์ที่ได้ปรึกษาพึ่งพา เป็นได้ตั้งแต่สถานที่สำคัญทางศาสนาที่เราได้เชื่อมโยงกับสิ่งที่ศรัทธา หรือแม้แต่การได้พูดคุยกับคนที่ปลอดภัยทางใจ ก็เป็นพื้นที่ทางจิตวิญญาณได้เช่นกัน แต่สำหรับคนเมืองที่ดูเหมือนจะหาพื้นที่เหล่านี้ได้ยากเต็มที จะมีที่ไหนที่เราพาใจไปวางอย่างสงบ หรือหน่วยที่เล็กที่สุดอย่างครอบครัว เราสามารถสร้างพื้นที่ร่วมกันได้อย่างไรบ้าง Time index 02:13 เราไม่ค่อยอนุญาตให้เห็นความทุกข์ของกันและกัน 05:21 วัดและหมอดู พื้นที่ทางจิตวิญญาณของสังคมไทย 06:10 การไปหาหมอดูคือการได้เห็นสิ่งที่ปรารถนาของตนเอง 09:10 พื้นที่ทางจิตวิญญาณไม่จำเป็นต้องเต็มรูปแบบเสมอไป 10:21 เราควรมีพื้นที่ที่มองเห็นหัวใจของเรา 13:54 หลักการสร้างพื้นที่ปลอดภัยทางใจ