Sinopse
Episódios
-
RUOK168 ลดการตัดสินในครอบครัว ด้วยการเท่าทันความรู้สึกของตัวเอง
14/05/2020 Duração: 28minแม้ไม่ใช่คนเปราะบางแต่บางครั้งคำพูดของคนในครอบครัว ก็ทิ่มแทงความรู้สึกเรา อาจลามไปถึงการแปะป้าย ตีตราตัดสินอย่างไม่ตั้งใจ R U OK ชวนนักจิตบำบัดจากมหาวิทยาลัย York ประเทศอังกฤษ คุณสฤญรัตน์ โทมัส มาคุยกันว่าในสถานการณ์ที่เราอยากใช้คำพูดตีตรามให้อีกฝ่ายเจ็บจำหรือล้มลงไปต่อหน้า เรามีวิธียั้งตัวเองอย่างไรเพื่อไม่ให้ไปถึงตรงนั้นบ้าง
-
RUOK167 พ่อแม่จะยอมรับความไม่รู้ได้อย่างไร เพราะลูกก็สอนเราได้เหมือนกัน
11/05/2020 Duração: 21minพ่อแม่สอนเราให้เป็น ‘ลูก’ แต่เราจะเป็น ‘พ่อแม่’ ได้เมื่อเรามี ‘ลูก’ เท่านั้น เพราะฉะนั้นลูกอาจคือ ‘ครูคนสำคัญ’ ที่จะบอกว่าในชีวิตนี้เราก็ไม่รู้อะไรอีกตั้งหลายอย่าง R U OK ชวนครูอิ๊ก-ณฐินี เจียรกุล เจ้าของเพจ เพราะลูกสอนเรา ที่เธอบันทึกเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ว่าเรียนรู้อะไรจากลูกบ้าง เพราะ ลูก 1 ขวบ เราก็เป็นพ่อแม่อายุ 1 ขวบ ที่กำลังยันตัวลุกขึ้นและออกก้าวเดินไปพร้อมๆ กัน
-
RUOK166 พัฒนาความคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical Thinking)
08/05/2020 Duração: 27minนอกจากเรื่องอารมณ์แล้วความคิดก็เป็นอีกหนึ่งทักษะที่จำเป็นในช่วงเวลานี้ โดยเฉพาะ ‘การคิดอย่างมีวิจารณญาณ’ หรือ Critical Thinking เพราะข้อมูลข่าวสารที่ล้นทะลักการพิจารณาอย่างรอบคอบถ้วนถี่อาจเป็นทางออกให้เราอยู่รอดได้ และเมื่อขึ้นชื่อว่าเป็น ‘ทักษะ’ ก็เป็นสิ่งสามารถพัฒนา โดยเริ่มจากง่ายๆ อย่างในครอบครัว
-
RUOK165 ลดความคาดหวัง กุญแจสำคัญของการไม่ระเบิดอารมณ์ใส่คนในครอบครัว
04/05/2020 Duração: 25minเคยสังเกตตัวเองไหมว่าเวลาเจอเรื่องเครียดอะไรมา คนที่เรามักเผลอลงระเบิดใส่คือคนใกล้ตัวและมักเป็นคนในครอบครัวเสมอ R U OK ชวน หมอโอ๋ เจ้าของเพจเลี้ยงลูกนอกบ้าน มาคุยกันว่าในสายตาของวิทยาศาสตร์สมองทำงานอย่างไรเมื่อเกิดอาการปรี๊ด และในด้านจิตวิทยาเราสามารถใช้ Emotional Intelligence มาพัฒนาทักษะการควบคุมอารมณ์ได้อย่างไรในขณะที่เราต้องอยู่บ้านด้วยกันมากขึ้น
-
RUOK164 จะทำอย่างไรให้คนในครอบครัวมี Emotional Intellegence
30/04/2020 Duração: 30minการมีเวลาอยู่กับครอบครัวมากขึ้น สำหรับบางคนอาจไม่ใช่สิ่งที่ปรารถนาและมีความสุขเสมอไป ยิ่งอยู่ด้วยกัน โอกาสที่ความเห็นไม่ตรงกันจนกลายเป็นกระทบกระทั่งก็มากขึ้นตามไปด้วย แต่สถานการณ์เหล่านั้นอาจคลี่คลายขึ้นได้เมื่อสมาชิกในครอบครัวมีความฉลาดทางอารมณ์ หรือ Emotion Intellegence R U OK พอดแคสต์ ชวน หมอโอ๋ เจ้าของเพจเลี้ยงลูกนอกบ้าน มาคุยกันถึงการสร้างความฉลาดทางอารมณ์ให้กับคนในครอบครัว โดยเริ่มจากคนที่ใกล้ชิดที่สุด นั่นคือตัวเราเอง
-
RUOK163 ประโยคที่ใช้ถามตัวเอง ก่อนจะกระหน่ำช้อปปิ้งออนไลน์แบบไม่รู้ตัว
27/04/2020 Duração: 17minทางออกสำหรับคนที่ทำงานอยู่บ้านนานๆ แล้วเครียด คือการได้เข้าเว็บช้อปปิ้งออนไลน์ เพราะรู้สึกว่าได้คลายเครียด ได้ดึงอำนาจและการจัดการมาอยู่ในมือตัวเอง แต่รู้ตัวอีกทีก็เป็นทุกข์กับใบเสร็จบัตรเครดิตตอนสิ้นเดือน เราไม่สามารถหยุดช้อปได้เบ็ดเสร็จเด็ดขาด เพราะมันก็เป็นความสุขอย่างหนึ่ง แต่จะทำอย่างไรให้การช้อป ไม่กระทบกระเทือนกระเป๋าสตางค์ และสามารถเตือนตัวเองได้อย่างมีสติ
-
RUOK162 Mentality ที่ดีในการทำงานที่บ้านเป็นอย่างไรเมื่อ Work From Home อาจกลายเป็น New Normal
23/04/2020 Duração: 28minทำไมหลายคนรู้สึกว่าการ Work From Home ถึงเครียดกว่าการทำงานที่ออฟฟิศ? R U OK ชวนสำรวจตัวเองว่าความเครียด ความเหนื่อยล้า และหนักจากการทำงานที่บ้านเกิดขึ้นจากสาเหตุใดได้บ้าง และที่สำคัญคือเราควรปรับสภาพจิตใจอย่างไรหาก Work From Home จะกลายเป็น New Normal หรือความปกติใหม่ของสังคมการทำงานในอนาคต
-
RUOK161 ฮึกเหิม สร้างพลังใจ บอกข่าวร้าย การสื่อสารที่ออกแบบได้ในยามเปราะบาง
20/04/2020 Duração: 37minในยามวิกฤต ความรู้สึกของมนุษย์จะเปราะบางมากกว่าปกติเพราะกำลังอยู่ในภาวะป้องกันตัวเอง การสื่อสารระหว่างกันจึงต้องประคับประคองความรู้สึกมากเป็นพิเศษ R U OK ชวน เคน-นครินทร์ วนกิจไพบูลย์ คุยในฐานะผู้บริหารองค์กรที่ต้องแจ้งนโยบายและสื่อสารกับคนในองค์กรทุกระดับ ว่ามีหลักการสื่อสารอะไรที่ต้องยึดถือเพื่อให้เกิดความมั่นคง ชัดเจน แต่ในขณะเดียวกันก็เห็นใจเพื่อนมนุษย์ในเวลาด้วย
-
RUOK160 องค์กรกับพนักงานจะร่วมมือผ่านวิกฤตนี้ไปได้อย่างไรให้รู้สึกว่าเป็นทีมเดียวกัน
16/04/2020 Duração: 31minWork From Home, Leave without Pay, ปรับลดเงินเดือน หรือปลดพนักงาน หลากหลายนโยบายขององค์กรที่ทำเพื่อให้บริษัทอยู่รอดในช่วงวิกฤต ทั้งหมดเป็นลำดับขั้นตอนที่แต่ละองค์กรต้องพิจารณา แต่ไม่ว่าจะพนักงานจะได้รับผลกระทบทางใจอย่างไร ต่างสามารถทำผ่านกรอบของ ‘Empathy’ หรือความเห็นอกเห็นใจกันได้ R U OK ชวน เคน-นครินทร์ วนกิจไพบูลย์ กรรมการผู้จัดการ THE STANDARD และโฮสต์พอดแคสต์ The Secret Sauce มาคุยกันว่าจะไปเป็นไปได้ไหมที่บริษัทจะสามารถมั่นคงในวิกฤต พร้อมกับการรับผิดชอบชีวิตพนักงานไปพร้อมๆ กัน
-
RUOK159 แบบฝึกหัดเมื่อรู้สึกแพนิก ด้วยวิธีการพูดคุยกับตัวเอง
13/04/2020 Duração: 25minเมื่อเราแพนิก หายใจหอบถี่จากความกลัวที่หาสาเหตุไม่ได้ หลายครั้งมันเกินความควบคุมของเรา R U OK จึงอยากชวนให้ผู้ที่รู้สึกกังวล และรับรู้ว่าอาการแพนิกกำลังก่อตัวขึ้นเล็กๆ คอยสังเกตตัวเอง และฝึกทักษะการพูดคุยกับตัวเอง (Self-Talk) ผ่านทางคำพูดและการสังเกตร่างกาย รวมถึงฝึกหายใจอย่างถูกวิธี โดยสามารถฝึกตอนที่จิตใจยังสงบเพื่อจะได้ตั้งรับทันท่วงที และเมื่อทำบ่อยๆ อาจรู้ความต้องการของตัวเองที่เป็นคำถามมาทั้งชีวิตก็ได้
-
RUOK158 อาการ PANIC เกิดขึ้นได้เพราะเรากำลังเผชิญกับความไม่รู้
09/04/2020 Duração: 19minเชื่อว่าหลายคนกำลังรู้สึกกลัว วิตกกังวล หรือเรียกติดปากกันว่า ‘แพนิก’ เพราะต้องรับมือกับผลกระทบของไวรัสโควิด-19 ไม่ต้องตกใจไป R U OK กำลังจะบอกว่าคุณโอเคที่จะรู้สึกตระหนก เพราะเรากำลังรับมือกับสิ่งที่มองไม่เห็น ต้องเผชิญหน้ากับ ‘ความไม่รู้’ ว่าจะเกิดอะไรขึ้นบ้างกับชีวิต แต่คำถามคือเมื่อคนข้างๆ แพนิกจนรู้สึกเป็นปัญหาระหว่างกัน เราจะทำอย่างไรต่อไปดี?
-
RUOK157 รับฟังไม่เท่ากับการเป็นที่ปรึกษา บทบาทของหัวหน้าในการแสดงความ Empathy
06/04/2020 Duração: 16minในบริบทการทำงาน บทบาทของหัวหน้ากับลูกน้องมักจะถูกตั้งต้นด้วยเรื่องงานเสมอ แต่บางครั้งก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะปนด้วยเรื่องส่วนตัวเพราะเรากำลังทำงานกับมนุษย์ที่แบกเรื่องอีรุงตุงนังหลายอย่างในชีวิต R U OK และ บิ๊กบุญ จากคำนี้พอดแคสต์ ร่วมกันหาคำตอบว่าจริงๆ แล้วหัวหน้าจำเป็นต้องแก้ไขเรื่องส่วนตัวให้กับลูกน้องไหม ลูกน้องมาปรึกษาแบบไม่ทันตั้งตัวคนเป็นหัวหัวหน้าจะทำอย่างไร รวมถึงแบบฝึกหัดในการตั้งคำถามปลายเปิด และ Mindset ในการชวนคุยอย่างมี Empathy
-
RUOK156 เจ้านายจะ Empathy กับลูกน้องได้อย่างไรเมื่อความมุ่งหมายในที่ทำงานคือผลลัพธ์และ Productivity
03/04/2020 Duração: 28minเมื่อที่ทำงานคือพื้นที่ต้องขับเคลื่อนด้วยผลลัพธ์และ Productivity เป็นหลัก Empathy จึงดูเหมือนสิ่งที่ทำให้ซอฟต์ ทำให้ทำงานได้ไม่เต็มที่ แต่นั่นเพราะเรายังไม่เข้าใจ Eamapthy จริงๆ ต่างหากว่ามันอยู่ตรงไหนและทำฟังก์ชันอย่างไร วันนี้ บิ๊กบุญ จาก คำนี้ดีพอดแคสต์ จะชวน ดุจดาว วัฒนปกรณ์ คุยถึงเรื่อง Empathy ในฐานะเจ้านายกับลูกน้องว่าความ Empathy ในที่ทำงานเจ้านายจำเป็นจะต้องมานั่งตบหลังตบไหล่ฟังเรื่องชีวิตส่วนตัวของลูกน้องเสมอไป หรือแท้จริงแล้วมันแสดงออกได้อย่างไรบ้างที่ทำให้ได้ทั้ง ‘งาน’ และได้ทั้ง ‘ใจ’ ไปพร้อมๆ กัน
-
RUOK155 ปรับใจอย่างไรกับการเปลี่ยนแปลงฉับพลันและไม่ทันตั้งตัว
30/03/2020 Duração: 21minไวรัสโควิด-19 ไม่ได้นำมาซึ่งความเปลี่ยนแปลงด้านสุขอนามัยเท่านั้น แต่นำมาซึ่งการเปลี่ยนวิธีการทำงาน กิจวัตรประจำวัน เศรษฐกิจ ความเป็นอยู่ บางคนได้รับผลกระทบถึงเรื่องการงานอย่างไม่ทันตั้งตัว เพราะไม่มีใครสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงแบบฉับพลันทันทีได้อย่างเก่งกาจ R U OK จึงชวนให้อยู่กับความ ‘ช็อก’ ที่เกิดขึ้นนั้นสักพัก ไถ่ถามทบทวนกับตัวเอง ไม่แน่วิกฤตครั้งนี้อาจทำให้เราเห็นความเป็นไปได้อีกหลายๆ ทางที่เราคาดไม่ถึง
-
RUOK154 Empathy กุญแจสำคัญที่ทำให้เราอยู่ร่วมกันอย่างเข้าใจในช่วงเวลาวิกฤต
27/03/2020 Duração: 22minไวรัสโควิด-19 คือสิ่งที่เปลี่ยนพฤติกรรมและวิถีชีวิตครั้งใหญ่ ตั้งแต่เรื่องงาน เศรษฐกิจ การใช้ชีวิตประจำวัน หรือแม้แต่กระทั่งมุมมองที่มีต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ภายใต้ความหวาดกลัวและวิตกกังวล เราเห็นความเป็นเพื่อนมนุษย์ของอีกฝ่ายน้อยลงหรือเปล่า R U OK เอพิโสดนี้ ดุจดาว วัฒนปกรณ์ ผู้เชี่ยวชาญด้าน Empathic Communication จะชวนคุยให้เห็นอีกด้านว่า ภายใต้วิกฤตนี้กุญแจสำคัญด้านจิตใจ ที่จะทำให้เรารอดพ้นไปด้วยกันได้คือ ‘Empathy’ หรือความเห็นอกเห็นใจกันในฐานะที่อีกฝ่ายคือมนุษย์ ไม่ใช่เชื้อโรค หรือไม่ใช่ความเสี่ยงเป็นที่ตั้ง รวมถึงเรื่องที่เราอาจนึกไม่ถึงอย่าง ‘การเดินทางร่วมกันในขนส่งสาธารณะ’ หรือ ‘การกักตุนอาหาร’ ก็เป็นพฤติกรรมที่สร้างความเห็นใจ และให้เกียรติมนุษย์ผู้ร่วมโลกที่กำลังเผชิญโรคเดียวกับเราอยู่
-
RUOK101 ใช้เวลาพิจารณาความทุกข์ จะเห็นความจริงบางอย่างของชีวิต [Re-Broadcast]
24/03/2020 Duração: 20minช่วงเวลาที่วิกฤตแบบนี้หลายคนอาจเจอความทุกข์ได้ง่ายๆ ทั้งเรื่องเล็ก เรื่องใหญ่ เรื่องที่แก้ไขได้ แก้ไขไม่ได้ จนบางครั้งรู้สึกว่าความทุกข์มันใหญ่เกินที่เราจะรับมือไหว R U OK ชวนนั่งลงพิจารณาความทุกข์นั้นอีกครั้ง เปลี่ยนมุมมองว่าชีวิตใช่เรื่องสมบูรณ์แบบ และความทุกข์ไม่ใช่ตัวร้าย แล้วเราจะพบว่าความทุกข์เป็นเรื่องธรรมชาติ เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตที่เราต้องค่อยๆ เรียนรู้และรับมือกับมันไปตลอดชีวิต
-
RUOK88 7 ขั้นตอนของการรับมือกับความเครียด [Re-Broadcast]
20/03/2020 Duração: 18minด้วยเหตุการณ์ปัจจุบันทำให้หลายคนรู้ว่ากำลังเกิดความเครียด แต่ไม่แน่ใจว่าสิ่งที่เป็นอยู่นั้นเราเครียดมากเกินไปไหม รับมือไหวหรือเปล่า ไปจนถึงเราจะรับมือกับความเครียดที่เกิดขึ้นนั้นได้อย่างไร R U OK ชวนคุยเรื่องวิธีการลดความเครียด ตั้งแต่เริ่มรับรู้ความเครียดที่อาจจับต้องได้ยาก สังเกตอาการทางกาย รวมถึงการจัดการอย่างเป็นขั้นตอน และเป็นรูปธรรม เผื่อว่าอย่างน้อยเราจะพอจะรับมือความเครียดที่เกิดขึ้นได้โดยไม่จมดิ่งกับมันไปเสียก่อน
-
RUOK153 เด็กดี-เด็กเกร เป็นเพียงนิยาม ร่วมเข้าใจธรรมชาติเพราะเด็กทุกคนบนโลกนี้ไม่เหมือนกัน
16/03/2020 Duração: 41minหลายครั้งที่เรารีบด่วนตัดสินว่าเด็กที่โดดเรียน เกเร ไม่อยู่ในกรอบวินัยที่ผู้ใหญ่วางไว้เป็นเด็กไม่ดี โดยเฉพาะคนใกล้ตัวอย่างพ่อแม่ที่อาจเห็นเพียงสิ่งที่เด็กแสดงออก แต่ไม่เคยค้นลึกลงไปถึงที่มาว่าเพราะอะไรเด็กถึงเลือกแสดงพฤติกรรมเหล่านั้น R U OK ชวนครูวรรณี เจียรวนนท์ รอสส์ มาช่วยกันหาคำตอบว่าจริงภายใต้สิ่งที่เด็กแสดงออก พ่อแม่ควรมีวิธีคิดอย่างไรเพื่อไม่ให้รีบตัดสินและจัดการกับพฤติกรรมเหล่านั้น โรงเรียนจะมีส่วนสนับสนุนอย่างไรให้เด็กแสดงออกในพฤติกรรมเชิงบวก เพราะไม่ว่าจะเด็กหรือผู้ใหญ่ ทุกคนมีความเครียดที่แบกมา และต้องการการประคับประคองจิตใจไม่ต่างกัน
-
RUOK152 ถกกันให้เห็นทางเลือก ‘การตี’ ยังจำเป็นอยู่ไหม แล้วลงโทษลูกอย่างไรให้เสริมแรงเชิงบวก
12/03/2020 Duração: 20minพ่อแม่มือใหม่หลายคนอาจจะโตมากับการถูกตีจนเกิดเป็นคำว่า ‘ได้ดีเพราะไม้เรียว’ แต่ในปัจจุบัน ‘การตี’ เป็นการลงโทษที่ถกเถียงกันอย่างกว้างขวางว่า หากมีเป้าหมายคืออยากเปลี่ยนพฤติกรรมของเด็ก การตียังเป็นการลงโทษที่จำเป็นอยู่หรือเปล่า R U OK ชวน ครูร่ม-ฉัตรวรุณ เล้าแสงชัยวัฒน์ กระบวนกรจากกลุ่มมะขามป้อม มาร่วมกันถกว่าเราสามารถลงโทษลูกได้ด้วยวิธีไหนบ้างเพื่อให้ลูกเปลี่ยนพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ เพราะบางครั้งการตีอาจไม่ใช่แค่แผลที่ตัว แต่เป็นแผลที่ใจซึ่งต่อเนื่องยาวนานจนเป็นผู้ใหญ่ รวมถึงการเสริมแรงบวกซึ่งเป็นทางออกที่สร้างสรรค์และน่าสนใจ สามารถทำได้อย่างไรบ้าง
-
RUOK151 ทำอย่างไรที่จะทำให้ทั้งพ่อและแม่เป็นทีมเดียวกันในการเลี้ยงลูก
09/03/2020 Duração: 15minทัศนคติที่ว่าหน้าที่หลักของการเลี้ยงลูกเป็นของแม่ เพราะความเชื่อว่าผู้หญิงละเอียดอ่อนและใส่ใจมากกว่าผู้ชายนั้น กลายเป็นกับดักที่ทำให้หน้าที่เลี้ยงลูกตกเป็นของผู้หญิงโดยปริยาย โดยผู้ชายมีหน้าที่ช่วยเสริมแรงหรือผลัดเปลี่ยนเท่านั้น R U OK อยากชวนคุยเพื่อทบทวนกันอีกครั้ง ไม่ว่าพ่อหรือแม่ต่างก็มีความสำคัญในการเลี้ยงลูก ไม่ใช่หน้าที่หลักของใคร แต่คือการจับมือเป็นทีมเดียวกัน สื่อสารและตกลงกัน เพราะการระหว่างที่ลูกกำลังพัฒนาการและซึมซับทางเลือกต่างๆ ในชีวิต พ่อแม่คือตัวอย่างที่ดีที่สุดที่ลูกจะนำไปหยิบใช้ในอนาคต